1.เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยอาศัยอาหารสูตรที่สามารถเพิ่มจำนวนต้นเป็นทวีคูณ
2.เพื่อเป็นการผลิตพืชที่ปราศจากโรค ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส เพราะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจะใช้ส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญที่อยู่ที่บริเวณปลายยอดของลำต้นและเนื้อเยื่อคัพภะ (Embryo) ซึ่งถือว่าปลอดจากเชื้อไวรัสมากที่สุด
3.เพื่อเป้นการปรับปรุงพันธุ์พืช โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ แล้วคัดเลือกเอาสารพันธุ์ที่ดีไว้ ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้สารเคมี การฉายรังสี การติดต่อยีนส์ และการย้ายยีนส์
4.เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน โดยการเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีเงื่อนไขต่างๆ เช่น การสร้างพันธุ์ต้านทานต่อสารพิษของโรค ต้านทานต่อแมลง ต้านทานต่อยากำจัดวัชพืช ฯลฯ
5.เพื่อการผลิตพันธุ์พืชทนทาน โดยการคัดสายพันธุ์ทนทานจากการจัดเงื่อนไขของอาหารและสภาวะแวดล้อม เช่น การคัดสายพันธุ์พืชทนเค็ม สายพันธุ์ทนต่อดินเปรี้ยว เป็นต้น
6.เพื่อการผลิตยาและสารเคมีจากพืช พืชบางชนิดมีคุณสมบัติทางยาแต่บางครั้งปริมาณยาที่สกัดอยู่ในเนื้อสารมีปริมาณน้อย จึงต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมและอาหารที่เหมาะสม ก็อาจชักนำให้เกิดการสังเคราะห์สารที่เราต้องการได้มากขึ้น
7.เพื่อการศึกษาทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของพืช
8.เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืช ซึ่งปัจจุบันนี้มีพืชหลายชนิดสูญพันธุ์ไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง วิธีการเก็บรักษาพืชพรรณต่างๆ ไว้ในหลอดทดลองจะทำให้พืชมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ามาก ทำให้ประหยัดเวลา แรงงาน และอาหาร จนกว่าเมื่อใดเราต้องการพืชชนิดนั้นๆจึงนำมาขยายเพิ่มจำนวนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น